โรงแรม ภาคกลาง |
โรงแรม ภาคตะวันออก |
โรงแรม ภาคเหนือ |
โรงแรม ภาคใต้ |
|
ทัวร์ต่างประเทศ |
|
ข่าวสาร ท่องเที่ยว แผนที่ |
|
........
........
........
........
........
|
|
ดำน้ำ ดูปะการัง เกาะกูด เกาะไม้ เกาะแรด เกาะไม้ซี้ เกาะหมาก เกาะกระดาด เกาะขาม เกาะกระ เกาะรัง | เกาะกูด เป็นเกาะที่อยู่สุดท้ายทางทิศตะวันออกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลตราด และมีความใหญ่เป็นอันดับ ๒ รองจากเกาะช้างในจังหวัดตราด หรือเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ ๔ ของประเทศ ระยะทางห่างจากตัวเมืองตราด ๘๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ๑๐๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖๕,๖๒๕ ไร่ โดยมีขนาดความยาวของเกาะ ๒๕ กิโลเมตร และขนาดความกว้าง ๑๒ กิโลเมตร ลักษณะโดยทั่วไปของเกาะยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ โดยมีภูเขา และที่ราบสันเขาซึ่งเป็นต้นกำเนิด ลำธาร สายน้ำ ทำให้เกาะกูดมีน้ำตกหลายแห่ง แต่ที่ขึ้นชื่อบนเกาะกูด คือ น้ำตกคลองเจ้า จะมีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีทั้งหมด ๓ ชั้น โดยชั้นบนจะมีลักษณะเป็นลำธาร ส่วนชั้นล่างเป็นลำธารจากน้ำตกขนาดใหญ่ ซึ่งเหมาะแก่การเล่นน้ำอย่างมาก น้ำตกแห่งนี้ถือว่าเป็นน้ำตกประวัติศาสตร์ คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประพาสเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ ทรงพระราชทานนามว่า น้ำตกอนัมก๊ก เพื่อเป็นที่ระลึกถึงองค์เชียงสือกษัตริย์ญวนที่เคยเข้ามาลี้ภัยจากการ จราจลในสมัยรัชกาลที่ ๑ | ทางฝั่งตะวันตกของเกาะ นับตั้งแต่อ่าวตาดีน หาดคลองระหาน หาดคลองยายกี๋ หาดตาโพธิ์ หาดคลองเจ้า หาดอ่าวพร้าว จนสุดปลายแหลมเทียน ล้วนแต่เป็นหาดที่มีหาดทรายสวยงาม และน้ำทะเลใส มีธรรมชาติสงบเงียบ ร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าวริมหาด นอกจากนี้บนเกาะกูดยังมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์ และแนวปะการังนานาชิด ในบริเวณทะเลด้านในของตัวเกาะรวมทั้งเกาะแรด และเกาะไม้ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเกาะกูด
ชนพื้นถิ่นดั้งเดิมของเกาะกูดส่วนใหญ่เป็นคนไทย และคนเขมรในเกาะกงที่อพยพเข้ามาเมื่อเมืองปัจจันตคีรีเขตรตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๗ หมู่บ้านคลองมาดเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ที่สุด ปัจจุบันชาวเกาะยังดำรงชีพด้วยเกษตรกรรม ทั้งทำสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนผลไม้เพียงเล็กน้อย และทำประมงชายฝั่ง บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย
การเดินทาง ไปเกาะกูดยังไม่มีเรือโดยสารประจำทางบริการนักท่องเที่ยวโดยตรง แต่นักท่องเที่ยวจะต้องซื้อแพ็กเกจทัวร์จากสถานที่พักแต่ละแห่งบนเกาะกูด
เกาะไม้ซี้ เกาะส่วนตัวเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเกาะกูดซึ่งยังคงธรรมชาติอันสมบูรณ์ หาดทรายสวย น้ำใส อุดมด้วยพันธุ์ปลานานาชนิด สามารถดำน้ำดูปะการังได้ บนเกาะมีพันธุ์ไม้ต่างๆให้ศึกษา พร้อมสถานที่พักอาศัยกึ่งโฮมสเตย์ รับนักท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ ๑๕๓๐ คน แพ็กเกจทัวร์ ๓ วัน ๒ คืน ราคา ๓,๕๐๐ บาท, ๒ วัน ๑ คืน ราคา ๒,๕๐๐ บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๗๕๐ ๖๘๗๓, ๐ ๙๙๘๐ ๕๗๕๗
เกาะหมาก เป็นเกาะขนาดใหญ่ อยู่ระหว่างเกาะช้างกับเกาะกูด ห่างจากฝั่งประมาณ ๓๘ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๙,๐๐๐ ไร่ มีรูปร่างคล้ายดาวสี่แฉก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสวนมะพร้าว โดยรอบมีอ่าว ชายหาดที่สวยงาม และน้ำใสสะอาดหลายแห่ง เช่น บริเวณอ่าวตานิด อ่าวไผ่ อ่าวโปร่ง อ่าวผาด อ่าวแดง อ่าวส่วนใหญ่ บริเวณชายฝั่งรอบเกาะและเกาะใกล้เคียงพบแนวปะการังที่สมบูรณ์ และสวยงาม บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย ช่วงฤดูท่องเที่ยวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤษภาคม
ชุมชนดั้งเดิมบนเกาะหมากส่วนใหญ่เป็นเขมรเชื้อชาติไทยที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อครั้งเมืองประจันตคีรีเขตร หรือเกาะกงเป็นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๗ โดยมีหลวงพรหมภักดี ต้นตระกูลตะเวทิกุล เป็นผู้ควบคุมคนจีนบนเกาะกง คนบนเกาะส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน มีอาชีพเกษตรกรรมทำสวนยางพารา และสวนมะพร้าว จนเกาะหมากได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวที่สำคัญของจังหวัดตราด บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย
การเดินทาง ไปเกาะหมาก เที่ยวไป มีเรือโดยสารออกจากท่าเรือแหลมงอบทุกวัน นักท่องเที่ยวควรมาถึงท่าเรือก่อนเวลา ๑๕.๐๐ น. ถึงท่าเรืออ่าวนิด เวลา ๑๘.๐๐ น. ใช้เวลาในการเดินทาง ๓ ชั่วโมงครึ่ง เที่ยวกลับ มีเรือออกจากท่าเรืออ่าวนิด เวลา ๐๘.๐๐ น. ถึงท่าเรือแหลมงอบ เวลา ๑๑.๐๐ น. อัตราค่าโดยสารคนละ ๒๑๐ บาท ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๙๕๓ ๘๑๒๒
เกาะกระดาด ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะหมาก มีพื้นที่ประมาณ ๑,๒๐๐ ไร่ ใช้เวลาเดินทางจากแหลมงอบประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง แต่เดิมมีต้นกระดาดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า เกาะกระดาด นับเป็นเกาะเดียวในประเทศไทยที่มีการออกโฉนดถูกต้องตามกฏหมาย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เนื่องจากฝรั่งเศสได้เข้ามาล่าอาณานิคมในแถบเอเชียอาคเนย์ และพยายามยึดครองดินแดนของไทย เกาะกระดาดก็เป็นที่หมายหนึ่งของฝรั่งเศสด้วย รัชกาลที่ ๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกโฉนดที่ดินของเกาะขึ้น ลักษณะโดยทั่วไปของเกาะมีหาดทรายยาวขาวสะอาด มีแนวปะการังที่สวยงามตลอดชายฝั่ง บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย
การเดินทาง ไปเกาะกระดาดยังไม่มีเรือโดยสารประจำทางบริการนักท่องเที่ยวโดยตรง นักท่องเที่ยวจะต้องซื้อแพ็กเกจทัวร์ของเกาะกระดาด รีสอร์ทเพียงแห่งเดียว
เกาะขาม เป็นเกาะเล็กๆ อยู่ใกล้กับเกาะหมาก ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ ๓ ชั่วโมง สิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนเกาะขาม คือ สภาพธรรมชาติที่สวยงาม บรรยากาศที่เงียบสงบ ร่มรื่น น้ำทะเล และหาดทรายใสสะอาด ด้านตะวันออกของเกาะยังมีแนวปะการังที่สวยงาม บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย
การเดินทาง ไปเกาะขาม มีเรือโดยสารประจำทางออกจากท่าเรือแหลมงอบ เที่ยวไป ออกเวลา ๑๕.๐๐ ถึงเกาะขาม เวลา ๑๘.๐๐ น. ใช้เวลาในการเดินทาง ๓ ชั่วโมง เที่ยวกลับ ออกจากเกาะขาม เวลา ๐๘.๐๐ ถึงท่าเรือแหลมงอบ เวลา ๑๑.๐๐ น. อัตราค่าเรือโดยสารคนละ ๒๑๐ บาท ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๑๒๑๒ ๑๘๑๔, ๐ ๑๓๐๓ ๑๒๒๙, ๐ ๑๙๑๖ ๖๕๓๖
หมู่เกาะระยั้ง ประกอบด้วย เกาะระยั้งใน และเกาะระยั้งนอก สภาพโดยทั่ว ๆ ไปของเกาะระยั้งนอกเป็นเกาะที่เงียบสงบ หาดทรายขาว น้ำใสสะอาด มีที่พักบนเกาะระยั้งนอกเพียงแห่งเดียว
หมู่เกาะกระ เป็นเกาะขนาดเล็กตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะหมาก เป็นเขตสัมปทานรังนกนางแอ่น ไข่จะละเม็ด และมูลค้างคาว มีโขดหินใต้น้ำ และปะการังน้ำลึกที่สวยงาม
หมู่เกาะรัง เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ห่างจากเกาะหมากไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๖ กิโลเมตร บนเกาะไม่มีที่ราบพอที่คนจะอาศัยอยู่ได้ มีเฉพาะที่ราบหน้าหาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น บริเวณรอบๆ หมู่เกาะรังมีเกาะน้อยใหญ่อยู่จำนวนมาก ได้แก่ เกาะรังใหญ่ เกาะรังเล็ก เกาะกระ เกาะเทียน เกาะทองหลวง เกาะยักษ์ เกาะสามพี่น้อง เกาะมะปริง เกาะตุ๊น และเกาะกำปั่น เป็นต้น ซึ่งเกาะต่าง ๆ เหมาะแก่การดำน้ำดูปะการังท่ามกลางฝูงปลาแหวกว่าย
การเดินทาง ไปหมู่เกาะรัง และหมู่เกาะกระ ไม่มีเรือโดยสารประจำทางที่วิ่งบริการนักท่องเที่ยวโดยตรง นักท่องเที่ยวจะต้องเช่าเหมาเรือจากแหลมงอบ ในราคาประมาณ ๕,๐๐๐-๘,๐๐๐ บาท ที่ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือแต่ละลำ | ข้อปฏิบัติในการท่องเที่ยว ดำน้ำ ดูปะการัง ตกปลา เล่นน้ำ ขี่รถ | | ดำน้ำ/ดูปะการัง
ควร
- ฝึกหัดการใช้อุปกรณ์ดำน้ำให้ชำนาญ
- เตรียมร่างกายให้พร้อมไม่อดนอน ไม่ดื่มสุรา
- เตรียม/เช่าอุปกรณ์ดำน้ำให้พร้อม เช่น หน้ากากดำน้ำ ตีนกบ สนอร์เกิล ชูชีพ ถังออกซิเจน ฯลฯ
- เตรียมชุดว่ายน้ำ ครีมทาผิว
- ตรวจสอบอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน
- สวมชุดชูชีพให้พร้อมทุกครั้งก่อนลงน้ำ
- ผูกเรือไว้กับทุ่นจอดเรือในบริเวณที่จัดไว้
- ชมปะการังเฉพาะจุดที่ผู้นำทางกำหนดให้เท่านั้น
- ระมัดระวังมือ/เท้าไม่ให้ไปถูกปะการังเสียหาย
- ช่วยกันเก็บขยะในท้องทะเลขึ้นมาทิ้งบนฝั่ง
ไม่ควร
- ดำน้ำช่วงที่มีแสงสว่างน้อย หรือช่วงน้ำลงจัด
- ลงดำน้ำ หากร่างกายไม่แข็งแรง/มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับระบบการหายใจหอบหืด
- ทิ้งผู้ว่ายน้ำไม่ชำนาญไว้ตามลำพัง
- ว่ายน้ำออกห่างทุ่นจอดเรือมากเกินไป
- จอดเรือบริเวณแนวปะการัง
- นำเรือเข้าใกล้ชายฝั่งที่มีปะการังน้ำตื้น
- สัมผัส หรือแตะต้องปะการัง
- ทิ้งขยะลงบนชายหาด หรือทะเล
- เตะตะกอนทรายขึ้นมาทับถมปะการัง
- จับ หรือทำลายสัตว์น้ำทุกชนิด
- เก็บปะการัง กัลปังหา เปลือกหอย
- ซื้อของที่ระลึกที่ทำจากปะการัง กัลปังหา ฯลฯ
ตกปลา
ควร
- ฤดูกาลที่เหมาะสมในการตกปลา วันเดือนมืด/ข้างแรม เป็นช่วงน้ำเกิดต้นฤดูหนาว (ธันวาคม)-ปลายฤดูร้อน (พฤษภาคม)
- เตรียมอุปกรณ์ เช่น ตะเกียงน้ำมันก๊าด ไฟฉาย ลีดเดอร์ลวด เหยื่อ
- ติดต่อหาผู้นำทาง (กรณีไม่ทราบแหล่งตกปลา)
- มีเพื่อนออกไปตกปลาด้วย เพื่อช่วยเหลือหากเกิดเหตุฉุกเฉิน
ไม่ควร
- ตกปลาที่มีขนาดเล็กเกินไป
- ตกปลาในฤดูวางไข่
- ตกปลาในเขตอนุรักษ์ หรือเขตเพาะพันธุ์
- ออกเรือไปตกปลาลำพัง
- ตกปลาขณะฝนตก/มีพายุ
เล่นน้ำทะเล/น้ำตก
ควร
- เตรียมยา แว่นกันแดด ครีมทาผิว ชูชีพ
- ใส่เสื้อผ้าที่กระชับ น้ำหนักเบา ไม่อุ้มน้ำ
- เล่นน้ำบริเวณใกล้ชายฝั่ง(ทะเล) หรือน้ำตื้น(น้ำตก)
- มีผู้ร่วมเล่นน้ำ หรือบริเวณใกล้เคียงเพื่อช่วยเวลาฉุกเฉิน
- เล่นน้ำช่วงเช้า หรือบ่ายที่อากาศไม่ร้อนจัด
- หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำบริเวณที่มีแมงกะพรุน
ไม่ควร
- ลงเล่นน้ำขณะมีฝนตก/คลื่นลมแรง
- ทิ้งขยะมูลฝอยลงในน้ำ/บริเวณน้ำตก หรือทางเดิน
- ออกไปเล่นน้ำไกลชายฝั่ง/บริเวณน้ำลึก
- ลงเล่นน้ำคนเดียว หรือเวลากลางคืน
- เก็บ หัก เด็ด ดอกไม้ ใบไม้
- ปีนป่าย ก้อนหิน โขดหิน หน้าผาบริเวณน้ำตก
- ขีดเขียนข้อความบนก้อนหิน/หน้าผา
ขี่จักรยาน/จักรยานยนต์
ควร
- ทำความเข้าใจสถานที่ เส้นทางก่อนเดินทาง
- เตรียมร่างกายกล้ามเนื้อให้พร้อมก่อนเดินทาง
- เตรียม หรือใช้บริการเช่าจักรยาน/จักรยานยนต์
- ถ้าเป็นจักรยานเสือภูเขา ควรฝึกซ้อมให้คล่องก่อนเดินทาง
- ตรวจเช็คสภาพรถ/น้ำมันไฟท้าย (จักรยานยนต์) ก่อนเดินทาง
- เตรียมยางใน ที่สูบลม สายเบรก สายเกียร์สำรอง กุญแจล็อครถไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน
- เตรียมกระติก น้ำดื่ม หมวก ยา รองเท้าผ้าใบ
- แต่งกายให้กระชับรัดกุมสวมหมวกกันน็อค แว่นตา ถุงมือ
- ขี่/ขับรถในอัตราความเร็วที่เหมาะสม
- มีผู้ขี่/ขับรถไปด้วยกันในเส้นทางที่เปลี่ยว หรืออันตราย
- ทิ้งขยะในบริเวณที่จัดไว้ หรือเก็บรวบรวมขยะกลับมาทิ้งที่ที่พัก
วัด/พิพิธภัณฑ์/โบราณสถาน
ควร
- ศึกษาข้อมูลรายละเอียดสถานที่ต่าง ๆ ก่อนไป
- แต่งกายให้สุภาพ สำรวมกิริยาวาจา
- ถอดรองเท้า และเก็บให้เรียบร้อยก่อนเข้าโบสถ์ เขตศาสนสถาน
- เดินตามทางเดินที่อนุญาต
- ติดต่อวิทยากรผู้ให้ความรู้ เช่น พระ ชาวบ้านในท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ผู้ดูแล
- ระมัดระวังไม่ให้ไปโดนโบราณวัตถุโบราณสถาน แตกหักเสียหาย
- เตรียมเทปบันทึกคำบรรยายสมุดจดบันทึกวาดภาพสิ่งที่สนใจ
- ขออนุญาตผู้ดูแลสถานที่ก่อนถ่ายภาพ
ไม่ควร
- เดินย่ำเข้าไปในเขตหวงห้าม หรือบนโบราณสถาน
- ยกโบราณวัตถุ อาจทำให้แตกหักเสียหาย
- จับ สัมผัส อาคารโบราณสถานโดยเฉพาะส่วนที่เป็นลวดลายแกะสลัก หรือภาพเขียนสี
- เหยียบย่ำ ปีนป่าย ลักลอบ ขุดค้นโบราณวัตถุ โบราณสถาน
- ใช้แสงแฟลชในการถ่ายภาพเพราะอาจทำให้โบราณวัตถุ โบราณสถานเสียหายได้
- นำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นชิ้นส่วนของโบราณวัตถุ โบราณสถานกลับไปเป็นของที่ระลึก
เดินชมเมือง/ชุมชน/ตลาด
ควร
- ศึกษาเส้นทาง ข้อมูลรายละเอียดสถานที่ต่าง ๆ ก่อนเดิน
- เริ่มเดินในช่วงเช้า หรือช่วงบ่าย ๆ ที่อากาศไม่ร้อนจัด
- เตรียมอุปกรณ์ แผนที่ สมุดบันทึก กล้องถ่ายรูป หมวก น้ำดื่ม
- ใส่เสื้อผ้าที่กระชับ รัดกุม
- พูดคุยสอบถามข้อมูลจากชาวบ้านระหว่างทาง
- เดินบนบาทวิถีเพื่อความปลอดภัย ระมัดระวังอันตรายจากรถยนต์
ไม่ควร
- ทิ้งขยะลงบนพื้น/ตามทางเดิน
- เดินในขณะฝนตก/ลมแรง |
|