|
ข้อมูลท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ในกลุ่มนี้ |
|
ข้อมูลทั่วไป นครพนม เมืองนครแห่งอีสาน ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงแถบนี้ เดิมทีเป็นที่ตั้งของอาณาจักรศรีโคตรบูร ตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขง(ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับพระธาตุพนมในปัจจุบัน
| ที่พัก ที่พัก ,เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญ
|
|
ท่าอุเทน พระธาตุท่าอุเทน อยู่บ้านท่าอุเทน ใกล้กับที่ว่าการอำเภอท่าอุเทน องค์พระธาตุก่ออิฐถือปูนเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมคล้ายพระธาตุพนม สร้างเป็น ๓ ชั้น ชั้นแรกเป็นอุโมงค์บรรจุของมีค่าต่าง ๆ ชั้นที่ ๒ สร้างครอบอุโมงค์ ชั้นที่ ๓ คือเจดีย์องค์ใหญ่ สูงประมาณ ๑๕ เมตร พระอาจารย์ศรีทัตถ์เป็นผู้สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๔ พระธาตุนี้เป็นศิลปกรรมและปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งองค์หนึ่ง บรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ ซึ่งพระอาจารย์ศรีทัตถ์ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง จะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ ถึงแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ของทุกปี การเดินทาง จากตัวเมืองนครพนมไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ประมาณ ๒๖ กิโลเมตร
| ธาตุพนม พระธาตุพนม ประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ในเขตอำเภอธาตุพนม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๕๐ กิโลเมตร การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีลงความเห็นว่าพระธาตุพนมสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๑๒๐๐๑๔๐๐ ตามตำนานกล่าวว่าผู้สร้างคือ พระมหากัสสปะ พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ และท้าวพระยาเมืองต่าง ๆ ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ลักษณะของสถาปัตยกรรมมีแหล่งที่มาที่เดียวกันกับปราสาทของขอม และได้ทำการบูรณะเรื่อยมา ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกขึ้นเป็น วรมหาวิหาร
|
|
นาหว้า พระธาตุประสิทธิ์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุประสิทธิ์ หมู่ที่ ๑๓ ตำบลนาหว้า ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ ๙๘ กิโลเมตร สามารถเดินทางจากตัวเมืองนครพนมไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ผ่านอำเภอท่าอุเทนถึงบ้านนาขมิ้น ถึงทางหลวงหมายเลข ๒๐๓๒ แยกซ้ายมือเข้าอำเภอศรีสงคราม ระยะทางประมาณ ๗๒ กิโลเมตร เป็นที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า ประชาชนในท้องที่ใกล้เคียงเคารพนับถือมาก
| นาแก พระธาตุศรีคุณ ห่างจากอำเภอธาตุพนมตามทางหลวงสาย ๒๑๒ ประมาณ ๗ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงสาย ๒๒๓ ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ถึงอำเภอนาแก และเลี้ยวซ้ายถึงวัดพระธาตุศรีคุณ เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุศรีคุณซึ่งเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอนาแก ลักษณะส่วนบนของพระธาตุคล้ายพระธาตุพนม ต่างกันตรงที่ชั้นที่ ๑ มี ๒ ตอน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ประดับลวดลายปูนปั้น และชั้นที่ ๒ สั้นกว่าพระธาตุพนม
|
|
บ้านแพง อุทยานแห่งชาติภูลังกา ห่างจากตัวอำเภอบ้านแพงประมาณ ๖ กิโลเมตร การเดินทางจากตัวเมืองนครพนมใช้เส้นทางสายนครพนม-บ้านแพง ทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ระยะทางประมาณ ๑๐๕ กิโลเมตรและเลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ ๒๒๐ อุทยานแห่งชาติภูลังกาครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม และอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ประมาณ ๓๑,๒๕๐ ไร่ หรือประมาณ ๕๐ ตารางกิโลเมตร ลักษณะเป็นภูเขาทับซ้อนกัน ๓ ลูก สลับด้วยเทือกเขาขนาดเล็กสลับซับซ้อนทอดยาวตามแนวลำน้ำโขง สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณและป่าแดงที่สมบูรณ์มีสัตว์ป่าชุกชุม เป็นต้นกำเนิดของน้ำตก และลำธารใหญ่น้อยหลายสาย
| ปลาปาก วัดพระธาตุมหาชัย ประดิษฐานอยู่บ้านมหาชัย ตำบลมหาชัย ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๓๙ กิโลเมตร ตามเส้นทางนครพนม-สกลนคร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๒๗๖ เข้าวัดอีก ๑.๘ กิโลเมตร ทางเข้าวัดเป็นถนนคอนกรีต องค์พระธาตุสูง ๓๗ เมตร เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์สารีริกธาตุ ภายในพระอุโบสถนอกจากพระประธานคือ พระพุทธไชยสิทธิ์แล้วยังมีพระพุทธรูปปางห้ามญาติสลักจากไม้ต้นสะเดาหวานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และภาพเขียนบนฝาผนังอุโบสถแสดงพุทธประวัติ มีลวดลายศิลปกรรมที่งดงามมากในภาคอีสาน
|
|
อำเภอเมือง วัดโอกาสศรีบัวบาน ตั้งอยู่ริมฝั่งโขงเขตเทศบาลเมืองนครพนม เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ บริเวณกลางวัดจะมีหอประดิษฐานพระติ้วกับพระเทียมอยู่คู่กัน พระติ้วจะประทับอยู่ด้านขวาของพระเทียม พระติ้วเป็นพระพุทธรูปปางเพชรมารวิชัย ทำด้วยไม้ติ้วบุทองคำ สร้างโดยเจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูร พ.ศ. ๑๓๒๘ ส่วนพระเทียมนั้นไม่ได้บุทองคำแต่ลงรักปิดทองเปลวใครเป็นผู้สร้างเมื่อใดไม่ปรากฎ ในวันเพ็ญเดือนหก จะมีประชาชนมานมัสการพระติ้วและพระเทียมจำนวนมาก
| เรณูนคร เรณูนคร อยู่ห่างจากพระธาตุพนม ๑๕ กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดนครพนมไปทางใต้ ๕๑ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ถึงประมาณกิโลเมตรที่ ๔๔ เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๐๓๑ อีกประมาณ ๗ กิโลเมตร ทางลาดยางตลอด เรณูนครเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวผู้ไทย ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดี อาทิ ธรรมเนียมการต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ การฟ้อนรำผู้ไทย นอกจากนี้ยังมีร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆไว้บริการนักท่องเที่ยวและประชาชนจากจังหวัดใกล้เคียงอีกมากมาย โดยเฉพาะบริเวณวัดพระธาตุเรณูนคร และตลาดอำเภอเรณูนคร
|
|