|
ข้อมูลท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ในกลุ่มนี้ |
|
ข้อมูลทั่วไป เมืองแพร่ สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ คือ พลนคร เมืองพล เมืองแพล ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ระหว่างปี พ.ศ.๑๔๗๐-๑๕๖๐ พระนางจามเทวีเข้าครอบครองแคว้นล้านนา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โกศัยนคร หรือ เวียงโกศัย ซึ่งแปลว่า ผ้าแพร นับแต่นั้นมาก็มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมาโดยตลอด จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง โดยเจ้าพิริยะชัยเทพวงศ์ (เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ ๑๘) เป็นเจ้าหลวงกำกับด้วยข้าหลวงซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าได้โปรดเกล้าฯให้พระยาไชยบูรณ์ข้าหลวงคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๕ พวกเงี้ยวได้ก่อการกบฏขึ้น โดยึดสถานีตำรวจ ศาลากลางจังหวัด ปล้นเงินคลัง และปล่อยนักโทษออกจากคุก พระยาไชยบูรณ์ถูกพวกเงี้ยว จับตัวและบังคับให้ยกเมืองให้ แต่พระยาไชยบูรณ์ไม่ยินยอมจึงถูกจับประหารชีวิต เมื่อความทราบถึงในหลวงรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีนำทัพหลวงเข้าปราบปรามพวกเงี้ยวจนราบคาบ เจ้าพิริยะชัยเทพวงศ์ เกรงพระราชอาญาจึงลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองหลวงพระบางและถึงแก่พิราลัยลงในปี พ.ศ.๒๔๕๒ นับแต่นั้นมาก็ไม่มีเจ้าผู้ครองนครแพร่อีกเลย
| ร้องกวาง ถ้ำผานางคอย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๓๔ กิโลเมตร ตามเส้นทางสายแพร่-ร้องกวาง (ทางหลวงหมายเลข ๑๐๑) ถึงกิโลเมตรที่ ๕๘-๕๙ เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก ๘๐๐ เมตร ถึงหน้าถ้ำผานางคอย ตัวถ้ำอยู่บนหน้าผาสูง ๕๐ เมตร เป็นอุโมงค์ลึกยาว ๑๕๐ เมตร กว้าง ๑๐ เมตร ลักษณะของถ้ำโค้งงอเป็นข้อศอกไปทางซ้าย และทางขวาเป็น ๓ ตอนด้วยกัน ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อยลักษณะต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเกล็ดหินประกายระยิบระยับ หรือเป็นชะง่อนหินยาวถึงพื้นถ้ำ สุดทางของถ้ำมีก้อนหินรูปร่างคล้ายหญิงสาวนั่งอุ้มลูกน้อยรอคอยคนรัก ชาวบ้านเรียกหินก้อนนี้ว่า หินนางคอย ตามตำนานพื้นบ้านของถ้ำแห่งนี้ เบื้องหน้าของหินนางคอยมีหินย้อย ลักษณะคล้ายรูปหัวใจดูแปลกตาสวยงาม นอกจากนี้ภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เป็นที่เคารพสักการะของชาวแพร่
|
|
ลอง อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง มีพื้นที่ทั้งสิ้น ๑๑๒,๕๐๐ ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขา และหน้าผาสูงเป็นแหล่งกำเนิดของลำธารต่างๆซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำยม สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณมีพันธุ์ไม้ที่สวยงาม เช่น จันทน์ผา กล้วยผา กล้วยไม้ดิน และสมุนไพร สัตว์ป่าที่พบ เช่น เลียงผา หมี เก้ง ไก่ป่า หมูป่า ชะมด และนกชนิดต่าง ๆ เช่น นกพญาไฟที่จะอพยพมาที่นี่ในช่วงฤดูหนาว
| วังชิ้น อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๒๕๖,๒๕๐ ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๒๔ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน ปกคลุมด้วยป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ตามยอดเขาสูงมีป่าสน และทุ่งหญ้า เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำ และลำห้วยหลายสาย เช่น แม่เกิ้ง แม่จอก แม่สิน มีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น หมูป่า ไก่ป่า หมี อีเห็น เสือโคร่ง เลียงผา และนกชนิดต่าง ๆ จุดเด่นของที่นี่คือ มีดงตะเคียนทองอายุ ๑๐๐ กว่าปีที่มีขนาด ๓-๔ คนโอบ อยู่ห่างจากที่ทำการ ๑๕ กิโลเมตร โดยใช้ทางเดินเท้า
|
|
สอง พระธาตุพระลอ อยู่ที่ตำบลบ้านกลาง ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๑๑๕๔ กม.ที่ ๕๔ ห่างจากอำเภอสองประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นพระธาตุเก่าแก่อายุกว่า ๔๐๐ ปี สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์เพื่อระลึกถึงความรักอมตะของพระลอแห่งนครแมนสรวง และพระเพื่อน-พระแพงแห่งเมืองสรอง เป็นต้นกำเนิดของวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอซึ่งจัดว่าเก่าแก่ที่สุด สันนิษฐานว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น บทประพันธ์ลิลิตพระลอได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดลิลิตบทหนึ่งเพราะบรรยายได้อย่างไพเราะ
| สูงเม่น พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน (บ้านฝ้าย) ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนแพร่-สูงเม่น ประมาณ ๓ กิโลเมตร อยู่ในบริเวณเดียวกับสวนอาหารบ้านฝ้าย ถนนยันตรกิจโกศล เป็นสถานที่จำลองชีวิตความเป็นอยู่ในรูปแบบอาคารบ้านเรือน และของใช้ในครัวเรือนของชาวเมือง เมื่อราว ๑๐๐ กว่าปีมาแล้ว เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันแรงงาน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐๒๒.๐๐ น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๕๔๕๒ ๓๑๑๔
|
|
อำเภอเมือง ตัวเมืองแพร่นั้นมีขนาดเล็กทำให้วัดวาอารามและแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งไม่ห่างไกลกันมากนัก ถนนสายใหญ่มีไม่มากนัก ฉะนั้นผู้ที่ชื่นชอบการปั่นจักรยานไม่ควรพลาดที่จะมาท่องเที่ยวเมืองนี้
| เด่นชัย วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี ตั้งอยู่ที่ ม.๙ ต.เด่นชัย ห่างจากอำเภอเด่นชัย ๓ กิโลเมตร สิ่งที่น่าชมภายในวัด คือ พิพิธภัณฑ์สุวรรณหอคำ สร้างด้วยไม้สักทอง เป็นไม้จากบ้านเรือนเก่าทั้งหมด ๑๔ หลัง เป็นรูปทรงล้านนา ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุมีค่าของหัวเมืองฝ่ายเหนือไว้มากมาย เช่นพระพุทธรูปต่าง ๆ เครื่องเขิน เครื่องดนตรีล้านนา อาวุธโบราณ รูปภาพเจ้านายฝ่ายเหนือ และภาพเหตุการณ์ในอดีตต่าง ๆ
|
|