|
ข้อมูลท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ในกลุ่มนี้ |
|
การเดินทาง รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๒ มาจนถึงจังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑๗ มาจนถึงจังหวัดพิษณุโลกและใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑ โดยจะผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอเด่นชัย (จังหวัดแพร่) จากเด่นชัยใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ ผ่านจังหวัดแพร่ไปจนถึงตัวจังหวัดน่าน รวมระยะทางประมาณ ๖๖๘ กิโลเมตร
| ข้อมูลทั่วไป น่านมีพื้นที่ ๑๑,๔๗๒,๐๗๖ ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ ๗ ล้านไร่เศษ อาณาเขตทิศเหนือและทิศตะวันออกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้จดจังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศตะวันตกจดจังหวัดแพร่ พะเยา และเชียงราย
|
|
งานเทศกาล และงานประเพณี งานประเพณีไหว้พระธาตุ เมืองน่านเป็นเมืองหนึ่งในดินแดนล้านนาที่พระพุทธศาสนาเผยแผ่มาถึงเป็นเวลาช้านาน ในเขตเมืองเก่า ทั้งในตัวเมืองน่านและที่อำเภอปัวจะมีพระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาเด่นเป็นสง่า ในรอบปีมีงานประเพณีบูชาพระธาตุสำคัญ ได้แก่
| ทุ่งช้าง อนุสาวรีย์วีรกรรม พลเรือน ตำรวจ ทหาร ทุ่งช้าง หรือ อนุสาวรีย์วีรกรรมทุ่งช้าง สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรชนผู้พลีชีพเพื่อปกป้องแผ่นดินไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดและวางพวงมาลา เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ จึงถือเอาวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันวางพวงมาลา และบำเพ็ญกุศลแก่วีรชน สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่ริมทางหลวงสายน่าน-ทุ่งช้าง (หมายเลข ๑๐๘๐) ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๘๔ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และจัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารให้ศึกษาหาความรู้
|
|
ท่าวังผา ที่ราบลุ่มน้ำน่านทางทิศเหนือของจังหวัด เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ในเขตอำเภอท่าวังผาและอำเภอปัว คำว่า ท่าวังผา บ่งบอกให้เห็นสภาพภูมิประเทศซึ่งมีลักษณะเป็น วัง อุดมด้วยปลานานาชนิด สองฝั่งแม่น้ำน่านขนาบด้วยหน้าผาสูงชัน สายน้ำสายนี้ในอดีตเคยเป็นเส้นทางขนส่งของป่า อาทิ ต๋าว (ลูกชิด) หวาย เกลือ จากดอยสูงด้วยความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินและแหล่งน้ำ เมืองปัวและเชียงกลางจึงเป็นที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองของไทลื้อมาหลายร้อยปี
| นาน้อย อุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีพื้นที่ประมาณ ๕๘๓,๗๕๐ ไร่ หรือ ๙๓๔ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอต่างๆในจังหวัดน่าน ได้แก่ เวียงสา นาน้อย และนาหมื่น เทือกเขาสลับซับซ้อนที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ขนานกันทั้งทางทิศตะวันตกและตะวันออกแบ่งพื้นที่ออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก สองฝั่งแม่น้ำเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ในเขตเทือกเขาประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา มีรายงานว่าพบนกยูงในเขตอุทยานฯแห่งนี้ด้วย
|
|
นาหมื่น หมู่บ้านประมงปากนาย ปากนาย เดิมเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำน่าน หลังการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ หมู่บ้านปากนายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ซึ่งมีลักษณะเหมือนทะเลสาบขนาดใหญ่ โอบล้อมด้วยทิวเขาเขียวขจี ชาวบ้านปากนายประกอบอาชีพประมง มีแพร้านอาหารให้เลือกชิมปลาจากเขื่อน เช่น ปลากด ปลาบู่ ปลาคัง ปลาแรด ปลาทับทิม เป็นต้น และบางแห่งทำเป็นห้องพักไว้บริการนักท่องเที่ยว จากบ้านปากนายสามารถเช่าเรือล่องไปตามลำน้ำน่านสู่อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ มีทิวทัศน์เป็นป่าเขาสวยงาม เกาะแก่ง เรือนแพ ชาวประมง ในช่วงนอกฤดูฝน จะมีแพลากไปวัดปากนาย สามารถนั่งรับประทานอาหารบนเรือได้ ใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง และมีแพขนานยนต์ข้ามฟากไปยัง อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
| บ่อเกลือ บ่อเกลือสินเธาว์ พื้นที่บนยอดเขาสูงเสียดเมฆอย่างอำเภอบ่อเกลือ ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นแหล่งเกลือที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ เมืองน่านเป็นแหล่งเกลือขนาดใหญ่ ส่งเป็นสินค้าออกในภาคเหนือ และแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าที่ชุมชนผลิตไม่ได้ ผ่านกองคาราวานจีนฮ่อจากยูนนาน กวางสี และมณฑลอื่นๆ ในจีน โดยใช้เส้นทางผ่านมาทางสิบสองปันนา รัฐฉาน สู่เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เมืองสา (อำเภอเวียงสาในปัจจุบัน) และแพร่ รวมทั้งพ่อค้าไทเขินจากเชียงตุง และพ่อค้าวัวต่างชาวไทลื้อจากอำเภอท่าวังผา ในอดีตท้าวพญาในเค้าสนามหลวงได้รับส่วนแบ่งจากส่วยเกลือ นอกจากค่าธรรมเนียม และค่าปรับอื่นๆ พระยาติโลกราชแห่งเชียงใหม่ยกทัพมาตีน่านก็มุ่งหวังครอบครองบ่อเกลือซึ่งถือเป็นยุทธปัจจัยสำคัญสมัยนั้น
|
|
บ่อเกลือสินเธาว์ บ่อเกลือสินเธาว์ อยู่ห่างจากตัวเมืองน่าน 110 กิโลเมตร ชาวอำเภอบ่อเกลือนอกจากจะมีอาชีพทำนาทำไร่แล้วยังมีอาชีพทำเกลือสินเธาว์อีกด้วย โดยเป็นแหล่งเกลือสินเธาว์บนภูเขา (บ่อเกลือจะปิดช่วงเข้าพรรษาเพราะเป็นฤดูฝน)
| บ้านหลวง อุทยานแห่งชาตินันทบุรี ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอบ้านหลวง รวมทั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำยาว-น้ำสวก และป่าสงวนแห่งชาติถ้ำพุเตย มีอุณหภูมิเฉลี่ย ๘.๔ องศาเซลเซียส สูงสุด ๔๐.๘ องศาเซลเซียส เป็นป่าผสมผลัดใบ ดิบแล้ง ดิบเขา มีไม้ประเภท สัก ประดู่ ตะแบก ฯลฯ และในเขตอุทยานฯนี้ยังเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนเผ่ามลาบรี หรือ ผีตองเหลือง
สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ คือ
|
|
ประวัติศาสตร์เมืองน่าน หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณจังหวัดน่าน เช่น เครื่องมือหิน กลองสัมฤทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีศพสำหรับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเครื่องยืนยันว่าดินแดนนี้มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์
| ปัว วัดพระธาตุเบ็งสกัด ไปตามเส้นทาง ๑๒๕๖ ทางเข้าตรงข้ามโรงเรียนวรนคร เข้าไปประมาณ ๒๐๐ เมตร และแยกซ้ายอีก ๒๐๐ เมตร ตั้งอยู่บริเวณที่สันนิษฐานว่าพระยาภูคาได้สร้างเมืองปัวโบราณหรือเมืองวรนครเพื่อให้เจ้าขุนฟอง พระราชบุตรธรรมมาปกครอง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ว่าการอำเภอปัว
|
|
หอศิลป์ริมน่าน ตัวเมือง, น่าน ถนนน่าน-ท่าวังผา กิโลเมตรที่ 20 ดำเนินการโดยคุณวินัย ปราบริปู ศิลปินชาวน่าน เนื้อที่กว่า 13 ไร่ ประกอบด้วยอาคารหอศิลป์ สตูดิโอ และบ้านพักรับรอง
| อาหารพื้นบ้าน-ผลไม้พื้นเมือง หาชิมได้ไม่ยาก และราคาย่อมเยา ที่ กาดเช้า หรือตลาดเช้า ที่ตลาดสดเทศบาลเมืองหรือตลาดก่อนถึงทางขึ้นพระธาตุเขาน้อย และที่ กาดแลง หรือตลาดเย็น (เริ่มประมาณบ่ายสามโมง) หน้าโรงแรมเทวราช อาหารท้องถิ่นเมืองน่านอุดมด้วยเครื่องสมุนไพร ผักพื้นบ้านเครื่องเทศ โดยเฉพาะมะแข่น ซึ่งเป็นส่วนประกอบของอาหารหลายชนิด เช่น ยำลาบ ยำชิ้นไก่ แกงขนุน แกงผักกาด รับประทานกับข้าวนึ่งร้อนๆ อาหารพื้นบ้านเมืองน่านหลายชนิด คล้ายกับอาหารล้านนาทั่วไป อย่างไส้อั่ว น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล แต่บางชนิดเป็นอาหารเฉพาะถิ่น และมีให้รับประทานในบางฤดูกาลเท่านั้น
|
|
อำเภอเมือง เมืองน่านในอดีตเป็นนครรัฐขนาดเล็กริมแม่น้ำน่าน ในความเป็นเมืองเล็กงดงามด้วยสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา ยังสะท้อนให้เห็นการผสมผสานทางศิลปวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ทั้งด้านการเมือง การปกครอง ศาสนา รวมทั้งวิทยาการด้านต่างๆ กับกรุงสุโขทัยล้านนา พุกาม และล้านช้าง โดยยังคงเอกลักษณ์ของความเป็นพื้นถิ่นน่านไว้ได้อย่างสง่างาม
| เฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิมพระเกียรติซึ่งเป็นเขตรอยต่อชายแดนไทย-สปป.ลาว เป็นเขตพื้นที่สูงของจังหวัดมีเทือกเขาหลวงพระบางเป็นพรมแดนธรรมชาติ จุดสูงสุดอยู่ที่ดอยภูแว มีถนนบนภูเขาที่สูงเสียดฟ้าจนได้ชื่อว่า ถนนลอยฟ้า สามารถชมทัศนียภาพที่สวยงามสองข้างทาง จะพบทะเลหมอกในช่วงฤดูหนาว
|
|
เชียงกลาง วัดหนองแดง อำเภอเชียงกลางสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๐ โดยชาวไทลื้อร่วมกับไทพวน องค์พระประธานสร้างโดยครูบาสิทธิการ พระวิหารบูรณะครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ และบูรณะต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙
| แม่จริม อุทยานแห่งชาติแม่จริม (ล่องแก่งลำน้ำว้า) อยู่ในเขตอำเภอแม่จริม ห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ ๖๐ กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๑๖๘ และ ๑๒๔๓ มีพื้นที่ ๒๗๐,๐๐๐ ไร่ หรือ ๔๓๒ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำที่ไหลไปลงแม่น้ำน่านที่อำเภอเวียงสา สภาพป่าเป็นป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีสัตว์ป่าหลายชนิด
สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ
|
|