|
ข้อมูลท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ในกลุ่มนี้ |
|
ข้อมูลทั่วไป จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร เป็นเมืองที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ทั้งทางประวัติศาสตร์และทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ วัดเขาขึ้นของพระอาจารย์ธรรมโชติผู้สร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวบ้านบางระจัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง อุทยานแห่งชาติพุเตย บึงฉวาก และมีขนมขึ้นชื่ออย่างสาลี่สุพรรณ
| ดอนเจดีย์ : พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ อยู่ที่ตำบลดอนเจดีย์ อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ ๓๑ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๓๒๒ (สุพรรณบุรี-ดอนเจดีย์) ประกอบด้วย พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกศึก และ องค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่าเมื่อเดือนมกราคม ปีพ.ศ.๒๑๓๕ และในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ กองทัพบกได้บูรณะปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูง ๖๖ เมตร ฐานกว้างด้านละ ๓๖ เมตร ครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเสด็จไปประกอบพิธีบวงสรวงและเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๐๒ ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ ๒๕ มกราคม ของทุกปี เป็นวันถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์และถือเป็นวันกองทัพไทย พร้อมกันนั้นทางจังหวัดได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ทุกปี เลยจากเจดีย์ไปประมาณ ๑๐๐ เมตร เป็นที่ตั้งของ พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในมีรูปปั้นของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระสุพรรณกัลยา มีผู้นิยมไปสักการะบูชาอยู่เสมอ
|
|
ด่านช้าง : ถ้ำเวฬุวัน เขื่อนกระเสียว อุทยานแห่งชาติพุเตย ถ้ำเวฬุวัน ตั้งอยู่ในบริเวณวัดวังคัน ห่างจากอำเภอด่านช้างประมาณ ๑๔ กิโลเมตร ห่างจากทางเข้าอุทยานแห่งชาติพุเตย ๑ กิโลเมตร มีบันไดคอนกรีตขึ้นถึงบริเวณปากถ้ำ จำนวน ๖๑ ขั้น สภาพภายในถ้ำมีไฟฟ้าสว่างพอให้นักท่องเที่ยวเห็นสภาพภายในถ้ำ ซึ่งมีหินงอกและหินย้อยสวยงาม และมีพระพุทธรูปจำลองปางป่าเลไลยก์ให้นักท่องเที่ยวได้สักการะบูชา นอกจากนั้นในบริเวณวัด ทางอำเภอได้จัดทำเป็นสวนไผ่เทิดพระเกียรติ มีพันธุ์ไผ่ต่าง ๆ ปลูกไว้ประมาณ ๑๐ กว่าชนิด
| ตลาดสามชุก หรือ ตลาดริมน้ำร้อยปี ตัวเมือง, สุพรรณบุรี ตลาดสามชุก หรือตลาดริมน้ำร้อยปี ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 340 แยกเข้าอำเภอสามชุก อยู่ริมแม่น้ำท่าจีนติดกับที่ว่าการอำเภอสามชุก เป็นชุมชนชาวจีนเก่าแก่ที่ยังคงสภาพบ้านเรือน และตลาดแบบดั้งเดิม สิ่งที่น่าสนใจได้แก่อาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารไม้โบราณ
|
|
ศรีประจันต์ : บ้านควาย บ้านควาย ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ (สุพรรณบุรี-ศรีประจันต์) กิโลเมตรที่ ๑๑๕-๑๑๖ เป็นสถานที่รวบรวมวิถีชีวิตแบบพื้นบ้านภาคกลาง มีพื้นที่ ๑๐๐ กว่าไร่ แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น หมู่บ้านชาวนาแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มีลานนวดข้าว คอกควาย โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ บ้านเรือนไทยภาคกลาง เรือนแต่ละหลังมีกิจกรรมสำหรับผู้สนใจ เช่น เรือนแพทย์แผนไทย การนวดแผนไทย และการใช้สมุนไพร เรือนโหราศาสตร์ มีลานแสดงควายช่วงเช้าแสดงรอบ ๑๑.๐๐-๑๑.๓๐ น. ช่วงบ่ายรอบ ๑๖.๓๐-๑๗.๐๐ น. ด้านหน้าทางเข้ามีร้านขายสินค้าที่ระลึกของบ้านควายสำหรับนักท่องเที่ยว บ้านควายเปิดให้เข้าชมทุกวัน วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐๑๘.๐๐ น. วันเสาร์-อาทิตย์ ๐๙.๓๐-๑๘.๓๐ น. ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ ๒๐ บาท เด็ก ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐๐ บาท
| สองพี่น้อง : วัดไผ่โรงวัว วัดไผ่โรงวัว ตั้งอยู่ที่ตำบลบางตาเถร ห่างจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรีประมาณ ๔๓ กิโลเมตร หรือห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๗๐ กิโลเมตร ตามเส้นทางสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี มีทางแยกซ้ายก่อนถึงสามแยกลาดบัวหลวงเข้าสู่วัดไผ่โรงวัว หรือ หากมาตามทางหลวงหมายเลข ๓๔๒๒ กิโลเมตรที่ ๑๘๑๙ วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นวัดที่มีพุทธศาสนิกชน และบุคคลทั่วไปนิยมไปเที่ยวชมกันมากเพราะท่านพระครูอุทัยภาคาธร (หลวงพ่อขอม) ได้ดำเนินการก่อสร้าง พระพุทธโคดม เป็นพระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่สำคัญหลายแห่งเช่น สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล คือ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนาและปรินิพพาน มีส่วนที่แสดงงานประติมากรรมเกี่ยวกับพุทธประวัตินรกภูมิ สวรรค์ภูมิ นอกจากนี้ยังมี พระกะกุสันโธ พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้านหน้าพระพุทธรูปมี ฆ้อง และบาตร ใหญ่ที่สุดในโลก และยังมี พระวิหารร้อยยอด และ พระธรรมจักร หล่อด้วยทองสำริดใหญ่ที่สุดในโลก รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีกมากมาย เป็นวัดที่โดดเด่นวัดหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี
|
|
อำเภอเมือง ต่อ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย ตั้งอยู่ที่ถนนพระพันวษา ตำบลท่าพี่เลี้ยง ในบริเวณที่ว่าการอำเภอเมืองสุพรรณบุรี เป็นอาคารคอนกรีต ออกแบบผสมผสานระหว่างเรือนไทยและยุ้งฉางของชาวนา เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการทำนาโดยไม่ได้จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ ชั้นล่าง จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของการทำนา เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา ประเพณีวิถีชีวิตของชาวนา เรื่องราวของข้าวในอดีต และที่น่าสนใจ คือ การพบเศษภาชนะดินเผาที่บ้านบางปูน ตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งอาจเป็นหลักฐานพระราชพิธีแรกนาขวัญในสมัยอยุธยา ชั้นบน จัดแสดงพระราชจริยวัตรพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชูชาวนาไทยทรงพัฒนาการทำนาและการเกษตรของชาติ มีการจัดแสดงภาพจำลองเหตุการณ์พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๙ ณ แปลงนาสาธิต บึงไผ่แขก ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ทรงทำปุ๋ยหมัก หว่านและเก็บเกี่ยวข้าวด้วยพระองค์เอง และยังคงเก็บรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงใช้ นอกจากนี้ชั้นล่างยังมี ห้องค้นคว้าข้อมูล สำหรับค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัตถุที่จัดแสดง พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธถึงวันอาทิตย์ ( ปิดวันจันทร์ วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐๑๖.๐๐ น.โทร. ๐ ๓๕๕๒ ๒๑๙๑
| อำเภอเมือง หอคอยบรรหาร แจ่มใส สวนเฉลิมภัทรราชินี หอคอยบรรหาร-แจ่มใส และ สวนเฉลิมภัทรราชินี ตั้งอยู่ถนนนางพิม หอคอยบรรหาร-แจ่มใส เป็นหอคอยชมวิวแห่งแรก และสูงที่สุดในประเทศไทยมองเห็นโดดเด่นอยู่กลางเมือง มีความสูงถึง ๑๒๓.๒๕ เมตร ฐานกว้าง ๓๐ เมตร การขึ้นเที่ยวชมหอคอย จะมีจุดแวะพักชมวิว ๔ ชั้น ชั้นแรกเป็นที่จำหน่ายบัตรและของที่ระลึก ชั้นที่สองเป็นร้านจำหน่ายเครื่องดื่มอาหารว่างและจุดนั่งชมสวน ชั้น ๓ เป็นร้านจำหน่ายของที่ระลึกและจุดชมตัวเมือง ชั้นที่ ๔ อยู่ในระดับสูงสุด ๗๘.๗๕ เมตร เป็นจุดชมทิวทัศน์ของจังหวัดสุพรรณบุรีโดยรอบ มีกล้องส่องทางไกลบริการ ผนังห้องแสดงภาพวาดสีน้ำมันเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
|
|
อู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ตั้งอยู่ที่ถนนมาลัยแมน ติดกับที่ว่าการอำเภออู่ทองและโรงเรียนอู่ทองศึกษาลัย เป็นสถานที่รวบรวมศิลปะโบราณวัตถุในสมัยต่างๆ ที่ขุดค้นพบ แสดงวิวัฒนาการของมนุษย์ยุคต่างๆ ที่เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแถบสุพรรณบุรี แบ่งออกเป็น ๒ อาคาร คือ อาคารที่ ๑ จัดแสดงการค้นพบเมืองอู่ทองสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยวัฒนธรรมทวารวดี พระพุทธรูปสมัยทวารวดี อาคารที่ ๒ จัดแสดงห้องชาติพันธุ์วิทยาและลูกปัดที่ค้นพบในเมืองอู่ทองตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยทวารวดี ส่วนลานกลางแจ้งสร้างเป็นเรือนแบบลาวโซ่ง จัดแสดงวัฒนธรรมประเพณี การแต่งกาย เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวลาวโซ่ง พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐ ๓๕๕๕ ๑๐๔๐
| เดิมบางนางบวช : วัดเขานางบวช บึงฉวาก วัดเขาขึ้น หรือ วัดเขานางบวช (วัดพระอาจารย์ธรรมโชติ) ห่างจากจังหวัดประมาณ ๕๑ กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ กิโลเมตรที่ ๑๓๘๑๓๙ มีทางลาดยางขึ้นไปจนถึงวัดซึ่งตั้งอยู่บนเขานางบวช หรือจะเดินขึ้นบันได ๒๔๙ ขั้น ไปจนถึงยอดเขาก็ได้ พระอาจารย์ธรรมโชติเป็นพระที่มีความสำคัญในศึกชาวบ้านบางระจัน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านเครื่องรางของขลัง ชาวบ้านบางระจันจึงนิมนต์ไปเป็นขวัญและกำลังใจในการสู้รบกับพม่า ภายในวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ด้านนอกวิหารจะเห็น เจดีย์หินแผ่น เป็นหินแผ่นบางๆวางซ้อนเป็นรูปเจดีย์ขนาดไม่สูงมากตั้งอยู่ติดกับวิหาร ในโบสถ์หลังใหม่มีรูปปั้นอาจารย์ธรรมโชติ เมื่อยืนอยู่บนยอดเขาสามารถชมทิวทัศน์อันสวยงามของอำเภอเดิมบางนางบวชได้อย่างทั่วถึง
|
|