|
ข้อมูลท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ในกลุ่มนี้ |
|
ข้อมูลทั่วไป
| ค่ายบางระจัน อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันและอุทยานค่ายบางระจัน อยู่ห่างจากตัวเมือง ๑๕ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๓๒ มีพื้นที่ประมาณ ๑๑๕ ไร่ เป็นสวนรุกขชาติพักผ่อนหย่อนใจ และมีอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันเป็นรูปหล่อประติมากรรมของหัวหน้าชาวค่ายบางระจันทั้ง ๑๑ คน ซึ่งสร้างโดยกรมศิลปากร ปรากฏสวยเด่นเป็นสง่าอยู่ในสวน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเปิดอนุสาวรีย์นี้เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๑๙ ค่ายบางระจันมีความสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ ผืนแผ่นดินแห่งนี้ได้บันทึกเหตุการณ์ความกล้าหาญและเสียสละของวีรชนไทยที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๘ ในครั้งนั้นชาวบ้านบางระจันได้รวมพลังกันต่อสู้กับกองทัพพม่าซึ่งมีจำนวนมากมายมหาศาล โดยพม่าต้องยกทัพเข้าตีหมู่บ้านนี้ถึง ๘ ครั้ง ใช้เวลาถึง ๕ เดือน จึงเอาชนะได้เมื่อวันจันทร์แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีจอ พ.ศ.๒๓๐๙ ค่ายบางระจันในปัจจุบันได้สร้างจำลองโดยอาศัยรูปแบบค่ายในสมัยโบราณ นับเป็นอนุสาวรีย์ที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง
|
|
บางระจัน วัดพระปรางค์ (ชัณสูตร) ตั้งอยู่หมู่ ๗ บ้านโคกหม้อ ตำบลเชิงกลัด ไปตามเส้นทางสายสิงห์บุรี-บางระจัน-สรรค์บุรี ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ห่างจากตลาดชัณสูตรประมาณ ๑ กิโลเมตร ภายในบริเวณวัดมีพระปรางค์ศิลปแบบอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชองค์ปรางค์สูงประมาณ ๑๕ เมตร ก่อด้วยอิฐแบบปรางค์ไทยสูงชะลูดคล้ายฝักข้าวโพด ฐานเตี้ยภายในกลวงมีคูหาสี่เหลี่ยมจตุรัสบนผนังคูหา และร่องรอยภาพจิตรกรรมฝาผนัง ด้านหลังมีวิหารเก่าแก่แบบอยุธยา หน้าบันเป็นลายแกะสลักไม้รูปตัวสิงห์และคันทวยต่างๆ มีภูเขาและรอยพระพุทธบาทจำลองบนยอดเขา นอกจากนั้นยังปรากฎร่องรอยของเตาเผาแม่น้ำน้อยประมาณ ๓-๔ เตา วัดพระปรางค์ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวัดที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘
| พรหมบุรี วัดกุฎีทอง ตั้งอยู่หมู่ ๓ในเขตตำบลบางน้ำเชี่ยว บริเวณกิโลเมตรที่ ๑๗ จากตัวเมืองบนเส้นทางสาย ๓๒ ห่างจากตัวอำเภอประมาณ ๔๐๐ เมตร ในวัดมีมณฑปลักษณะเหมือนเจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้บนยอดและภายในมณฑปนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทโลหะจำลองไว้เป็นที่เคารพสักการะ นอกจากนั้นในบริเวณวัดกุฎีทองยังมีศูนย์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านชาวไทยพวน ซึ่งได้รวบรวมเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวันต่างๆ ของชาวไทยพวน เครื่องมือทำนา ดักสัตว์ จับปลา ตลอดจนยวดยานพาหนะต่างๆ ทั้งทางบกทางน้ำเป็นของเก่าแก่ไว้ให้ชมอีกด้วย ติดต่อขอเข้าชมได้ที่ พระครูเมตตานุศาสน์ เจ้าอาวาสวัดกุฎีทอง ผู้ดูและรักษาศูนย์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านวัดกุฎีทอง
|
|
อำเภอเมือง วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ในตำบลจักรสีห์ จากอำเภอเมืองไปตามเส้นทางสายสิงห์บุรี-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข ๓๐๓๒) ประมาณ ๔ กิโลเมตร สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ ลักษณะแบบสุโขทัยมีความยาว ๔๗.๔ เมตร นอกจากนี้ยังมีพระกาฬและพระแก้ว ซึ่งเป็นพระศิลาลงรักปิดทอง และพระหล่อนั่งขัดสมาธิเพชรอันศักดิ์สิทธิ์และมีพระพุทธลักษณะงดงาม ด้านหน้าพระอุโบสถมีต้นสาละลังกาใหญ่ต้นไม้สำคัญในพระพุทธศาสนาผลิดอกบานสะพรั่งหลายต้น เปิดให้เข้าชมและนมัสการทุกวัน
| อินทร์บุรี วัดสุทธาวาส หรือ วัดใหม่ ตั้งอยู่ตำบลทับยา เลยจากวัดกระดังงาบุปผารามไปประมาณ ๕ กิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอำเภออินทร์บุรีประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร มีวิหารหลังเก่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติพระจุฬามณี วาดด้วยช่างฝีมือชั้นครู ด้านทิศตะวันตกเป็นภาพตอนพระพุทธองค์ทรงออกบรรพชา ทิศเหนือเป็นภาพตอนผจญมาร ทิศตะวันตกเป็นภาพตอนพระพุทธองค์ฉันอาหารที่นายจุนนะถวาย ทรงประชวรแล้วเสด็จไปประทับ ณ ต้นรังคู่ เสด็จสู่ปรินิพพาน ทางทิศใต้ คือเรื่องราวของการถวายพระเพลิง การแจกจ่ายพระอิฐธาตุแก่เหล่ากษัตริย์และเทวดา บนหน้าบันเป็นภาพบรรจุพระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้าลอยในน้ำ นับเป็นโบราณสถานที่มีความงดงามและมีคุณค่าอีกแห่งหนึ่ง
|
|